แผนปฏิบัติการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ พ.ศ. 2558-2559

ยุทธศาสตร์ที่ 2 อนุรักษ์ และฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ

2.1 แผนปฏิบัติการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และปกป้องคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพ
ตัวชี้วัด

1 อัตราการสูญเสียแหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติมีแนวโน้มลดลง

2 จำนวนโครงการฟื้นฟูระบบนิเวศที่เสื่อมโทรม อย่างน้อยจังหวัดละ 1 โครงการ

3 ชนิดพันธุ์ที่ใกล้สูญพันธุ์ และชนิดพันธ์ุเฉพาะถิ่น อย่างน้อย 5 ชนิด มีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้น

4 ประกาศพื้นที่คุ้มครองทางทะเลเพื่อสนับสนุนการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอย่างน้อย 1 แห่ง

5 พื้นที่คุ้มครองที่มีอยู่ผ่านการประเมินประสิทธิภาพอย่างน้อยร้อยละ 30

6 มีพื้นที่ป่าไม้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ของพื้นที่ประเทศ


แนวทางปฏิบัติ แผนงาน/โครงการ ผลการดำเนินงาน
2.1.1.1 ประเมินสถานภาพ/ศักยภาพของระบบนิเวศและศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบให้ครอบคลุมทุกมิติ เพื่อวางแผนการจัดการพื้นที่ให้เหมาะสม และสร้างกระบวนการยอมรับของชุมชนและสาธารณชน 1. ประเมินสถานภาพ/ศักยภาพของระบบพื้นที่คุ้มครองประเภทต่างๆ และวิเคราะห์ผลกระทบให้ครอบคลุมทุกมิติในการสร้างกระบวนการยอมรับควบคู่กับการให้ความรู้ 1. โครงการการกระจายตัวและการรอดชีวิตของต้นอ่อน ณ แปลงวิจัยมอสิงโต: การวิเคราะห์ข้อมูล และการทดลองภาคสนาม ติดตั้งและใช้งานเครื่องมือและระบบการวัดค่าแสงและความชื้นในดินใน พื้นที่จริงในป่าเขตร้อนและดำเนินการในการเก็บข้อมูล
2.1.1.2 ส่งเสริมการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่ช่วยส่งเสริมการจัดการพื้นที่คุ้มครองอย่างมีประสิทธิภาพ 1. สำรวจและจัดตั้งพื้นที่คุ้มครองที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง - ความเชื่อมโยงของระบบนิเวศแนวปะการัง หญ้าทะเลและป่าชายเลนในบริเวณอ่าวไทย - สำรวจและจัดตั้งพื้นที่คุ้มครองที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง (ไลเคน) 1. งานวิจัยรูปแบบการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ศึกษากรณีเขาเอราวัณ จ.ลพบุรี
2.1.1.3 สนับสนุนการศึกษาสำรวจและวิจัยที่ส่งเสริมการอนุรักษ์ระบบนิเวศตามธรรมชาติและองค์ประกอบของความหลากหลายทางชีวภาพในระบบนิเวศต่างๆ 1. สำรวจติดตามตรวจสอบประเมินสถานภาพและจัดทำฐานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพในระบบนิเวศต่างๆ - ติดตามตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของสถานภาพความหลากหลายทางชีวภาพในระบบนิเวศกองหินใต้น้ำบริเวณอ่าวไทย - สำรวจและจัดทำฐานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของระบบนิเวศลุ่มน้ำ ปากแม่น้ำ แนวปะการัง หญ้าทะเล และเกาะ 1. การสำรวจประชากรต้นไม้แปลงวิจัยพลวัตป่ามอสิงโต
2. โครงการศึกษาสาหร่ายใบมะกรูด เพื่อลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในทะเล ศึกษาวิธีการ เพาะเลี้ยงเพิ่มจำนวนสาหร่ายใบมะกรูด และความสามารถของสาหร่ายใบมะกรุดต่อการสะสม คาร์บอน และคุณภาพของแคลเซียมคาร์บอเนตที่สร้างขึ้น
2. สำรวจและจัดทำฐานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ
3. สำรวจจัดจำแนกและประเมินสถานภาพของชนิดพันธุ์ไม้ป่าในพื้นที่อนุรักษ์และจัดทำระบบฐานข้อมูลตามบัญชีรายชื่อชนิดพันธุ์ที่ใกล้สูญพันธุ์ - โครงการประเมินสถานภาพไม้หวงห้ามที่ถูกคุกคามในสภาพที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ
2.1.1.4 เพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันรักษาป่าเชิงรุก 1. จัดหาและเพิ่มขีดความสามารถเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสำรวจประเมินสถานภาพ ตรวจสอบติดตามการเปลี่ยนแปลงสภาพป่า 1. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ เพื่อการจัดการทรัพยากรป่าไม้ และความหลากหลายทาง ชีวภาพอย่างยั่งยื่น ในพื้นที่กลุ่มป่าภูเขียว-น้ำหนาว โดยดำเนินการติดตั้งกล้องดักถ่ายภาพสัตว์ป่า (Camera Trap) ในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียวและอุทยานแห่งชาติน้ำหนาว โดยเน้นเฉพาะ จุดที่สำคัญ หรือจุดที่มีแนวโน้มว่าจะพบสัตว์ผู้ล่า อาทิเช่น หมีควาย หมีหมา หมาใน เสือดาว
2. แผนปฏิบัติการป้องกันแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและแผนปฏิบัติการติดตามตรวจสอบผลกระทบ สิ่งแวดล้อมของโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ เช่น ปลูกป่าทดแทน แผนป้องกันการชะล้างพังทลายของ หน้าดิน
2. สร้างเครือข่ายความร่วมมือ ตรวจสอบสิทธิครอบครองในพื้นที่ป่าไม้ และจัดทำระบบฐานข้อมูล 1. โครงการป้องกันและปราบปรามการตัดไม้ทำลายป่าระดับจังหวัด โดยการจัดทำแผนป้องกัน ปราบปรามและฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ จ.ชัยนาท จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากร ป่าไม้ (สปอตวิทยุ แผ่นพับ สมุดบันทึก) ร่วมสนับสนุนและจัดกิจกรรมปลูกต้นไม้ร่วมกับภาคประชา สังคม ภาคเอกชนและสถานศึกษา
2.1.1.5 พัฒนาสมรรถนะของบุคลากร เครือข่ายภาคประชาสังคมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมาย ในกระบวนการป้องกันและปราบปรามการฝ่าฝืนกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ 1. อบรมบุคลากรที่เกี่ยวข้องให้มีความรู้ความเข้าใจและสามารถใช้กฎหมายระเบียบปฏิบัติ หลักการทางรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ในกระบวนการป้องกันและปราบปรามการฝ่าฝืนกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ รวมทั้งกฎหมายคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย
2.1.1.6 พัฒนาระบบและจัดตั้งพื้นที่คุ้มครองเพิ่มเติมในการคุ้มครองพื้นที่ที่มีระบบนิเวศ พิเศษเฉพาะรวมถึงชนิดพันธุ์ที่หายากอย่างมีประสิทธิภาพ 1. จัดทำมาตรการคุ้มครองเพิ่มเติมและกำหนดเขตพื้นที่อนุรักษ์ในระบบนิเวศเปราะบางและวางกรอบแนวทางการดำเนินงานเพื่อเชื่อมต่อระบบนิเวศ (corridor) 1. การเตรียมประกาศพื้นที่อนุรักษ์: เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและเขตห้ามล่าประกาศโดยมีพื้นที่อนุรักษ์ สัตว์ป่า (เขตห้ามล่าสัตว์ป่า) 11 แห่ง เช่น เขตห้ามล่าสัตว์ป่า (ขห.) เขาพนมทอง ขห.ลุ่มน้ำปายฝั่ง ซ้าย ขห.ภูสันเขียว ขห.แม่โท ขห.เชียงแสน ขห.เวียงเชียงรุ้ง และ ขห.นันทบุรี ทั้งนี้กำลังดำเนินการ เตรียมการประกาศพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่าอื่นๆ เพิ่มเติม
2. อยู่ระหว่างการกำหนดและประกาศเขตพื้นที่ป่าชายเลนอนุรักษ์และออกกฎกระทรวง 7 พื้นที่
3. โครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูหนองแซง บ้านหนองหัววัว หมู่ที่ ๖ ต.โคกสี อ.เมือง จ.ขอนแก่น
2.1.1.7 จัดให้มีระบบหรือช่องทางการมีส่วนร่วมของชุมชน ประชาชน หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการรับฟังความคิดเห็น เพื่อนำมาจัดทำแผนงานกำหนดมาตรการ ในการบริหารจัดการพื้นที่คุ้มครองและถิ่นอาศัย 1. สนับสนุนและผลักดันให้เกิดการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องในการจัดทำแผนงานมาตรการในการบริหารจัดการพื้นที่คุ้มครองและถิ่นอาศัยในระดับท้องถิ่น 1. ประชุมรับฟังความคิดเห็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่เตรียมประกาศพื้นที่คุ้มครองเพื่อกำหนด มาตรการร่วมกัน
2.1.1.8 ฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่กำหนด 1. กำหนดพื้นที่เป้าหมาย/ชุมชนที่มีความเสื่อมโทรมด้านความหลากหลายทางชีวภาพเป็นโมเดล ภาคละ 1 พื้นที่ (5 พื้นที่) 1. ประกาศจังหวัด เรื่อง กำหนดเขตควบคุมไฟป่าในท้องที่จังหวัด
2. ดำเนินงานฟื้นฟูสภาพชุมชน/สังคม/สิ่งแวดล้อม โดยเน้นด้านการใช้พลังงาน/การคมนาคม/อุตสาหกรรมท้องถิ่น 1. โครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูพื้นที่ชุ่มน้ำบึงน้อย ระยะ ๒ บ้านนาเหนือ ต.หนองปลิง อ.เมือง จ.กำแพงเพชร
2. โครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งน้ำบึงระหารใหญ่ ช่วง ๕ ต.แพรกศรีราชา อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท
3. โครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งน้ำบึงโคกมะม่วง หมู่ที่ ๘ ต.ลาดตะเคียน อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี
4. โครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูบึงหนองขอน หมู่ที่ ๙ ต.บ่อทอง อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี
5. โครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูพรุนาแด้ หมู่ที่ ๕, ๖ ต.สมหวัง อ.กงหรา จ.พัทลุง
6. โครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูหนองคล้า หมู่ที่ ๗ ต.เขาชัยสน อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง
2.1.1.9 จัดทำฐานข้อมูลภูมิสารสนเทศความหลากหลายทางชีวภาพด้านต่างๆ ของประเทศ เพื่อวางแผนอนุรักษ์ ฟื้นฟู และเฝ้าระวังรักษาระบบนิเวศ ชนิดพันธุ์ และพันธุกรรมที่มีความสำคัญ 1. จัดทำฐานข้อมูลภูมิสารสนเทศความหลากหลายทางชีวภาพด้านการประมงให้มีความครบถ้วนและเป็นปัจจุบันอีกทั้งสามารถบูรณาการและเชื่อมโยงกันได้ระหว่างหน่วยงาน 1. กิจกรรมอนุรักษ์และพัฒนาด้านความหลากหลายทางชีวภาพ (งานสำรวจและจัดทำฐานข้อมูลด้าน ความหลากหลายทางชีวภาพป่าไม้)
แนวทางปฏิบัติ แผนงาน/โครงการ ผลการดำเนินงาน
2.1.2.1 ดำเนินการปกป้องคุ้มครอง อนุรักษ์ ฟื้นฟูและบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ลุ่มน้ำ โดยเฉพาะระบบนิเวศที่โดดเด่นมีความสำคัญต่อชุมชนได้รับการคุ้มครอง จากต้นน้ำถึงปลายน้ำแบบบูรณาการโดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน และเร่งรัดการฟื้นฟูพื้นที่ต้นน้ำที่เสื่อมโทรมให้กลับคืนความสมบูรณ์โดยดำเนินการตามแนวพระราชดำริ 1. กำหนดหลักเกณฑ์แนวทางการจัดการและเงื่อนไขการใช้ประโยชน์ให้เหมาะสมสอดคล้องกับศักยภาพพื้นที่โดยบูรณาการและมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน 1. โครงการฟื้นฟูป่า รักษ์น้ำ เขาห้วยมะหาด ปลูกป่าได้ 1,8804 ต้น บนพื้นที่ 162 ไร่ ทำแนวกันไฟ ยาว 5,046 เมตร สร้างฝายชะลอน้ำ 153 ฝาย โดยการดำเนินงานในระยะต่อไปจะส่งเสริมให้ นักเรียนเพาะกล้าไม้เพื่อนำไปปลูก
2. โครงการสายใยซั้งเชือก PTTGO สร้างแหล่งอาศัยสัตว์น้ำชายฝั่งทะเลระยองโดยความร่วมมือของ ๑๙ กลุ่มประมงพื้นบ้านในการสนับสนุนภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยวางซั้งเชือกเพื่อเพิ่มอัตราการรอด ของสัตว์น้ำวัยอ่อน ซึ่งสามารถวางซั้งได้ ๗๐ กอง
3. ดำเนินการติดตามแผนการฟื้นฟูเหมืองควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ
2.1.2.2 เตรียมความพร้อมเพื่อรองรับผลกระทบที่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีต่อระบบนิเวศ 1. รวบรวมความรู้เรื่องผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อความหลากหลายทางชีวภาพ และพื้นที่ชุ่มน้ำ จำแนก ระบุ งานวิจัยที่จำเป็นและจัดทำมาตรการบรรเทาและเยียวยา
2. กำหนดนโยบายระยะยาวของประเทศไทยเกี่ยวกับการการปรับตัวและบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อความหลากหลายทางชีวภาพ
3. จัดประชุมหารือและวางกรอบการดำเนินงานและเสนอแนะนโยบายเพื่อจัดการดูแลความหลากหลายทางชีวภาพและลดผลกระทบที่เกิดจากกิจกรรมที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
4. จัดตั้งคณะผู้เชี่ยวชาญเพื่อศึกษาและให้คำแนะนำ/ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการดำรงรักษาความหลากหลายทางชีวภาพให้สามารถช่วยสนับสนุนวัฏจักรของน้ำได้อย่างยั่งยืน
2.1.2.3 ฟื้นฟูระบบนิเวศโดยเฉพาะระบบนิเวศที่เสื่อมโทรมทั่วประเทศ 1. สำรวจพื้นที่ชุ่มน้ำ พื้นที่ป่า พื้นที่การเกษตร พื้นที่รกร้างว่างเปล่าทั่วประเทศเพื่อกำหนดแนวทางฟื้นฟู 1. ฟื้นฟูสภาพแวดล้อมบางน้ำผึ้ง จ.สมุทรปราการ
2. โครงการเฉลิมพระเกียรติ “ปลูกต้นกล้า ป่าต้นน้ำ ถวายพ่อ” (พื้นที่เขื่อนที่ได้รับพระราชทานนาม 9 แห่ง) (บำรุงรักษา) 1. ทดลองฟื้นฟูป่าชายเลนในพื้นที่วิกฤต ดำเนินการปลูกต้นกล้าไม้ป่าชายเลน ๘๕,๐๐๐ กล้า ในพื้นที่ ๑๐๐ ไร่
3. บูรณะฟื้นฟูและคุ้มครองพื้นที่ป่าอนุรักษ์ในเขตพื้นที่สวนป่าเศรษฐกิจ เพื่อดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
4. สนับสนุนโครงการนำร่องที่เกี่ยวข้องกับแนวทางและกลไกการดำเนินงานลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการทำลายป่าและความเสื่อมโทรมของป่าในประเทศกำลังพัฒนา (REDD+)
5. จัดทำแผนปฏิบัติการร่วมภาครัฐ ภาคธุรกิจเพื่อปลูกป่า ฟื้นฟูแม่น้ำ ลำคลอง หนองบึง ไร่นาร้าง เพื่อฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพโดยคำนึงถึงการใช้ชนิดพันธุ์พื้นเมืองเป็นหลัก 1. โครงการฟื้นฟูระบบนิเวศในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ภายใต้แผนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ
2. โครงการฟื้นฟูระบบนิเวศในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ภายใต้แผนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ
แนวทางปฏิบัติ แผนงาน/โครงการ ผลการดำเนินงาน
2.1.3.1 จัดทำมาตรการเชิงนโยบายกฎหมายและการจัดการรวมถึงแผนการปกป้องคุ้มครอง และฟื้นฟูชนิดพันธุ์พื้นเมือง ตลอดจนแหล่งที่อยู่อาศัยดังกล่าวโดยให้ลำดับความสำคัญกับชนิดพันธุ์ที่มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ ใกล้สูญพันธุ์ และใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง 1. จัดทำมาตรการ/แผนการคุ้มครองและฟื้นฟูพืชและสัตว์ในทะเบียนรายชื่อชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคามของประเทศไทย 1. โครงการพัฒนาเครื่องมือ กลไก การจัดการความหลากหลายทางชีวภาพและอนุวัตอนุสัญญาว่าด้วย ความหลากหลายทางชีวภาพ จัดทำทะเบียนรายการชื่อสิ่งมีชีวิต กลุ่มปลาน้ำจืดและกลุ่มเอคไคโน เดิร์ม เอกสารเครื่องมือกลไกการจัดการด้านความปลอดภัยทางชีวภาพที่สอดคล้องกับพันธกรณีพิธี สารคาร์ตาเฮนาว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพ และเอกสารการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี ด้านการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพใน ระบบนิเวศป่าไม้
2. มาตรการตรวจดีเอ็นเอช้าง เพื่อป้องกันการนำเข้าช้างป่ามาสวมสิทธิ์ช้างบ้านร่วมกับกรมอุทยาน สัตว์ป่าและพันธุ์พืช และอำเภอพระนครศรีอยุธยา ในการตรวจดีเอ็นเอช้าง เพื่อป้องกันการนำเข้า ช้างป่ามาสวมสิทธิ์ช้างบ้าน
3. จัดทำมาตรฐานฟาร์มเลี้ยงจระเข้ให้กับสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มก อช.) เน้นประเด็นไม่ใช้จระเข้พันธุ์ต่างถิ่นและลูกผสม
2.1.3.2 ส่งเสริมและสนับสนุนโดยการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ตลอดจนฝึกอบรมให้ความรู้แก่ชุมชนท้องถิ่นและผู้เกี่ยวข้อง และจัดตั้งเครือข่ายเพื่อดูแล คุ้มครองและฟื้นฟูชนิดพันธุ์พื้นเมือง 1. จัดตั้งเครือข่ายคุ้มครองชนิดพันธุ์พื้นเมืองที่ถูกคุกคามโดยชุมชนมีส่วนร่วม ควบคู่กับการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ 1. โครงการป้องกันและปราบปรามการตัดไม้ทำลายป่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยให้เจ้าหน้าที่ทำ ดำเนินการตรวจสอบควบคุม ให้คำแนะนำ ให้ความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติตามข้อระเบียบและ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบกิจการด้านอุตสาหกรรมไม้ มีการจัดทำฐานข้อมูล และรายงานผล การป้องกันและปราบปรามการตัดไม้ทำลายป่าทุกเดือน
2. กิจกรรมปลูกต้นไม้เนื่องในวันต้นไม้ประจำปี ร้อยละ 90 ของผู้เข้าร่วมกิจกรรมตระหนักใน ความสำคัญของการฟื้นฟูสภาพป่าและระบบนิเวศ
3. จัดตั้งเครือข่ายคุ้มครองชนิดพันธุ์พื้นเมืองที่ถูกคุกคามโดยชุมชนมีส่วนร่วมควบคู่กับการเผยแพร่และ ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้
4. โครงการพัฒนากฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับพืชอนุรักษ์ ดำเนินการจัดการประชุมเพื่อรับฟัง ความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในประเด็นที่เกี่ยวข้อง
2.1.3.3 ส่งเสริมบทบาทการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานด้านอนุรักษ์ ฟื้นฟู และปกป้องคุ้มครองชนิดพันธุ์พืชและสัตว์นอกถิ่นที่อยู่อาศัย 1. จัดทำโปรแกรมการอนุรักษ์และฟื้นฟูชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคามนอกถิ่นที่อยู่อาศัย รวมถึงการนำกลับคืนสู่ธรรมชาติ - แผนงานอนุรักษ์ วิจัย เพาะขยายพันธุ์และฟื้นฟูสัตว์ป่า : เลียงผา เต่าบก กวางผา กบทูด ละมั่ง อึ่งกราย กบอกหนาม พญาแร้ง แร้งเทาหลังขาว ไก่จุก และสัตว์เลื้อยคลานกลุ่ม Varanidae - แผนงานนำสัตว์ป่าคืนสู่ธรรมชาติ : นกกระเรียนพันธุ์ไทย เต่าบก กวางผา นกตะกรุม - โครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูพันธุกรรมไม้หวงห้ามที่ถูกคุกคามนอกถิ่นอาศัย - โครงการขยายพันธุ์ไม้ป่าและการคืนพันธุกรรมสู่ถิ่นเดิม - โครงการบริหารจัดการเมล็ดพันธุ์ไม้ป่าในสภาพถิ่นเดิม 1. โครงการปลูกต้นไม้เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสพระราช พิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๙ ในวันต้นไม้ประจำปีของชาติ พ.ศ. ๒๕๕๙ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยปลูกต้นไม้ จำนวน ๘๔ ต้น แจกกล้าไม้ จำนวน ๑,๐๐๐ ต้น
2. การเก็บรักษาเชื้อจุลินทรีย์ทางปศุสัตว์
3. โครงการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางด้านปศุสัตว์
4. อนุรักษ์พันธุกรรมสัตว์พื้นเมืองไทยและใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ
5. โครงการผลิตลูกพระโคจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ
6. จัดตั้งศูนย์วิจัยความหลากหลายทางชีวภาพด้าน ปศุสัตว์
7. ปรับปรุงพันธุ์และอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพพืชอาหารสัตว์
8. อนุรักษ์พันธุ์สัตว์พื้นเมืองนอกถิ่นอาศัยโดยเทคโนโลยีชีวภาพ
9. อนุรักษ์พันธุ์สัตว์พื้นเมืองนอกถิ่นอาศัยในหน่วยงานภาครัฐและเกษตรกร
10. อนุรักษ์และฟื้นฟูประชากรในระบบนิเวศของพรรณไม้ที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์
11. คืนกล้วยไม้สู่แหล่งกระจายพันธุ์ในธรรมชาติโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
12. โครงการอนุรักษ์กล้วยไม้แบบบูรณาการ - กิจกรรมศึกษาและสำรวจกล้วยไม้ - กิจกรรมราไมเคอร์ไรซ่าในกล้วยไม้ - กิจกรรมกล้วยไม้ในสภาพปลอดเชื้อ - กิจกรรมพัฒนาศักยภาพในการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ป่าแบบมีส่นร่วมของชุมชนบ้านปงไคร้ จ. เชียงใหม่ เพื่อการอนุรักษ์อย่างยั่งยืน - กิจกรรมทะเบียนเครื่องหมายพันธุกรรมกล้วยไม้ไทย - กิจกรรมธนาคารเมล็ดพันธุ์กล้วยไม้ไทย
13. ศึกษาการขยายพันธุ์ไม้ป่าหายากใกล้สูญพันธุ์เพื่อการอนุรักษ์และนำคืนสู่ธรรมชาติ 1. โครงการสำรวจพืชหายาก พืชเฉพาะถิ่น และพืชต่างถิ่นรุกราน ในพื้นที่มรดกโลก ดงพญาเย็น-เขาใหญ่ ฐานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของพืชหายาก พืชเฉพาะถิ่น และพืชต่างถิ่นรุกรานในพื้นที่ มรดกโลก กลุ่มป่าดงพญาเย็นเขาใหญ่
14. โครงการอนุรักษ์และขยายพันธุ์พืชที่ถูกคุกคามและเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ในสภาพปลอดเชื้อ
15. โครงการอนุรักษ์กล้วยไม้ไทย (รองเท้านารี หนวดฤาษี รองเท้านารีปีกแมลงปอ สกุลสิรินธรเนีย สกุลเอื้องดินใบไผ่ เอื้องมือชะนี ฟ้ามุ่ย) และปลูกเลี้ยงฟื้นฟูประชากรในระบบนิเวศโดยการอบรมชุมชน
16. โครงการสำรวจความหลากหลายของชนิดพันธุ์และนิเวศวิทยาของแมลงปอในภาคเหนือของประเทศไทย เพื่อจัดทำพิพิธภัณฑ์แมลงสวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์
17. โครงการศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของกล้วยไม้ฟ้ามุ่ยที่เกิดจากการผสมพันธุ์ในรูปแบบต่างๆ
18. โครงการศึกษาการตั้งถิ่นฐานของราไมคอไรซาร์หลังปล่อยฟ้ามุ่ยในสภาพกึ่งธรรมชาติ
19. โครงการอนุรักษ์เพื่อสนองพระราชดำริ: การศึกษาชีววิทยา นิเวศวิทยาและอนุกรมวิธานของหิ่งห้อย เพื่อการอนุรักษ์โดยมีส่วนร่วมของชุมชน
20. โครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูระบบนิเวศหิ่งห้อยป่าชายเลนด้วยความร่วมมือกับชุมชนท้องถิ่นเพื่อการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน
2.1.3.4 สนับสนุนงานวิจัยและติดตามการเปลี่ยนแปลงชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคามเพื่อการอนุรักษ์ชนิดพันธุ์ 1. อนุรักษ์กล้วยไม้ไทย (รองเท้านารี หนวดฤาษี รองเท้านารีปีกแมลงปอ สกุลสิรินธรเนีย สกุลเอื้องดินใบไผ่ เอื้องมือชะนี ฟ้ามุ่ย) และปลูกเลี้ยงฟื้นฟูประชากรในระบบนิเวศโดยการอบรมชุมชน 1. กิจกรรมเพิ่มพื้นที่สีเขียว (ป่าบก) จำนวน 58 ไร่ บริเวณพื้นที่เขาจอมแห หมู่ที่ 7 ตำบลมะขามคู่ อำเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยอง
2. ศึกษาวิจัยชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคามในแหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ - ไลเคน - โครงการจัดสร้างแปลงอนุรักษ์พันธุกรรมไม้ในสภาพถิ่นเดิม - โครงการศึกษาการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างป่าไม้และพลวัตรของระบบนิเวศป่าไม้เนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 1. การแก้ไขปัญหามลพิษอันเกิดจากการเผาตอซัง ฟางข้าว และเศษวัสดุทางการเกษตร ร่วมกับ สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สำนักงานเกษตร และสหกรณ์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สำนักงานเกษตรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นทุกแห่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ร่วมลงนาม MOU ในการสอดส่อง ดูแล และแก้ไข ปัญหาไฟป่าในพื้นที่รับผิดชอบ รวมถึงการรณรงค์ประชาสัมพันธ์สร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนใน การลดการเผา และการอยู่ร่วมกับป่าอย่างยั่งยืน
2. โครงการเสริมสร้างความร่วมมือด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมระดับพื้นที่เพื่อรองรับการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจังหวัดสมุทรปราการ
3. ศึกษาชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคามในแหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ
4. อนุรักษ์และขยายพันธุ์พืชที่ถูกคุกคามและเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ในสภาพปลอดเชื้อ
2.1.3.5 ดำเนินการฟื้นฟูชนิดพันธุ์ในแหล่งน้ำธรรมชาติที่ถูกคุกคาม และมีประชากรลดลง 1. เพาะและขยายพันธุ์เพื่อเพิ่มจำนวนสัตว์น้ำและพืชน้ำที่อยู่ในสถานภาพถูกคุกคามในธรรมชาติ เพื่อความสมดุลของระบบนิเวศ
2. จัดลำดับความสำคัญและวางมาตรการในการฟื้นฟูระบบนิเวศสำคัญ 1. กิจกรรมเนื่องในวันอนุรักษ์และพัฒนาแม่น้ำ คู คลองแห่งชาติ เนื่องในวันอนุรักษ์และพัฒนาแม่น้ำ คู คลองแห่งชาติประจำปี 2559 ที่ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดอยุธยา ร่วมกับ สมาคม ทสม. เครือข่าย ทสม. และหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน จัดขึ้น ตระหนักถึง ความสำคัญของแม่น้ำ คู คลอง
2. จัดกิจกรรมฟื้นฟูปลาไทยที่ใกล้สูญพันธุ์ (ปลาน้ำจืดและปลาทะเล)
2.1.3.6 ส่งเสริมและสนับสนุนให้ความรู้แก่ชุมชนท้องถิ่นและผู้เกี่ยวข้อง และจัดตั้งเครือข่ายเพื่อดูแล ปกป้องคุ้มครองและฟื้นฟูชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคามในแหล่งน้ำธรรมชาติ 1. จัดตั้งเครือข่ายชุมชนเพื่อดูแล ปกป้องคุ้มครองและฟื้นฟูชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคาม 1. การป้องกันการปล่อยน้ำทิ้งชุมชนอุตสาหกรรม เพื่อรักษาลุ่มน้ำและให้ภาคธุรกิจร่วมโครงการ CDM ลดก๊าซเรือนกระจก
2. โครงการคุ้มครองและใช้ประโยชน์จากสมุนไพรและถิ่นกำเนิดปี 2558 กรณีป่าชุมชน 60 พื้นที่ โดยดำเนินการร่วมกับป่าชุมชนในการส่งเสริมการปลูกป่าในพื้นที่ชุมชน 60 ชุมชน
2. โครงการเขตอนุรักษ์พันธุ์ปลา ประชามีสุข (อ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์)
แนวทางปฏิบัติ แผนงาน/โครงการ ผลการดำเนินงาน
2.1.4.1 ประเมินสถานภาพการใช้ประโยชน์ของสายพันธุ์สัตว์ในการผลิตปศุสัตว์ เพื่อรวบรวมข้อมูลและศักยภาพของชนิดพันธุ์สัตว์ที่มีอยู่ในประเทศไทย และใช้เป็นฐานในการพัฒนาปรับปรุงการผลิตสัตว์ในอนาคต รวมทั้งพัฒนาดัชนีชี้วัดความยั่งยืนในการใช้และการผลิตสินค้าปศุสัตว์ 1. สำรวจจัดจำแนกและประเมินสถานภาพของพันธุ์ ปศุสัตว์และจัดทำระบบฐานข้อมูล
2.1.4.2 อนุรักษ์และปกป้องคุ้มครองความหลากหลายทางพันธุกรรมที่ใช้ในการผลิตอาหารและการเกษตร 1. จัดทำแนวทางการระมัดระวังความเสียหายอันเนื่องมาจากสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมที่อาจเกิดขึ้นต่อความหลากหลายทางพันธุกรรมทางการเกษตรและสายพันธุ์ป่า รวมทั้งชนิดพันธุ์ที่ใกล้สูญพันธุ์ เฉพาะถิ่นหายาก
2. พัฒนาเทคโนโลยีการเก็บรักษาเชื้อพันธุกรรมที่ใช้ในการผลิตอาหารและการเกษตร
2.1.4.3 สำรวจ รวบรวมและศึกษาเชื้อพันธุกรรมพืชและสัตว์ป่า กลุ่มที่สำคัญ จากแหล่งพันธุกรรมต่างๆ 1. อนุรักษ์ข้าวป่าในสภาพธรรมชาติ
2. การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพพืชอาหารสัตว์ 1. การอนุรักษ์พันธุ์สัตว์พื้นเมือง จำนวน 40 พันธุ์
2. กิจกรรมอนุรักษ์พันธุกรรมสัตว์พื้นเมืองด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ
3. รวบรวมและจัดทำข้อมูลพันธุกรรมระดับชีวโมเลกุล (ข้อมูลดีเอ็นเอ) ของพืชและสัตว์ป่าแต่ละชนิดที่สำคัญจากแหล่งธรรมชาติ
4. โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สนองพระราชดำริโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
5. สำรวจรวบรวมและศึกษาเชื้อพันธุกรรมพืชและสัตว์ป่าที่สำคัญจากแหล่งธรรมชาติและนอกถิ่นอาศัย - โครงการบริหารจัดการเชื้อพันธุ์พืชป่าและสัตว์ป่าเพื่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์โดยสอดคล้องกับกรอบการดำเนินงานของแผนกลยุทธ์ไอจิ - โครงการจัดทำฐานข้อมูลสมรรถนะแหล่งเชื้อพันธุกรรม - โครงการขยายพันธุ์ไม้ป่าและการคืนพันธุกรรมสู่ถิ่นเดิม - โครงการบริหารจัดการเมล็ดพันธุ์ไม้ป่านอกสภาพถิ่นเดิม 1. สำรวจ ประเมินสถานภาพทรัพยากรป่าชายเลนและป่าชายฝั่ง
2. ศึกษาความหลากหลายของชนิดพันธุ์ราทะเลในป่าชายเลน
3. โครงการผลิตลูกพระโคด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ เป็นการทดสอบคุณภาพและเตรียมน้ำเชื้อแช่แข็ง ก่อนผสมเทียม 40 โด๊ส และการผลิตตัวอ่อนสำหรับการย้ายฝาก 6 ตัวอ่อน
4. กิจกรรมสำรวจและศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพจุลินทรีย์ก่อโรคในปศุสัตว์ (เชื้อแบคทีเรียไวรัส และปรสิต) โดยการเพาะเชื้อและเก็บรักษาจุลินทรีย์ทางแบคทีเรีย ไวรัส และปรสิต 974 สายพันธุ์
5. โครงการปลูกป่าเฉลิมประเกียรติ
6. สำรวจเก็บรวบรวมพันธุกรรมข้าว 1. การอนุรักษ์ทรัพยากรพันธุกรรมข้าวในธนาคารเชื้อพันธุ์ โดยดำเนินการตรวจสอบความงอกของ เชื้อพันธุ์ข้าวที่อนุรักษ์ไว้ และปลูกฟื้นฟูเชื้อพันธุ์ข้าวที่มีความงอกต่ำกว่ามาตรฐาน (80%) หรือมี ปริมาณเมล็ดพันธุ์น้อย โดยปลูกฟื้นฟูเมล็ดพันธุ์ข้าว 5,000 ตัวอย่าง
2. โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมข้าว
2.1.4.5 การลดความเสี่ยงจากการสูญพันธุ์ของสายพันธุ์พืชพื้นเมืองและสัตว์พื้นเมืองโดยเก็บรักษาสายพันธุ์พืชพื้นเมืองและสัตว์พื้นเมืองของไทยในรูปแบบธนาคารดีเอ็นเอ (Bio-Bank) 1. จัดทำ “ลายพิมพ์ดีเอ็นเอ (DNA Fingerprint)” พืชพื้นเมืองและสัตว์พื้นเมืองของไทย
2. จัดทำแหล่งเก็บรักษาพันธุ์พืชพื้นเมืองและสัตว์พืชเมืองของไทย ในรูปแบบที่มีชีวิต ไม่มีชีวิต (ซาก) และลายพิมพ์ดีเอ็นเอ
3. จัดทำทะเบียนพืชพื้นเมืองและสัตว์พื้นเมืองของไทย
2.1.4.6 สนับสนุนงานวิจัยที่ดำเนินการโดยภาคธุรกิจ องค์กรพัฒนาเอกชนร่วมกับชุมชนท้องถิ่นในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พันธุกรรมพืชและสัตว์พื้นเมืองอย่างยั่งยืน 1. ส่งเสริมภาคธุรกิจ องค์กรพัฒนาเอกชนดำเนินการวิจัยพันธุกรรมพืชและสัตว์พื้นเมือง โดยแบ่งปันผลประโยชน์ให้แก่ชุมชนท้องถิ่น - โครงการความร่วมมือทางวิชาการเพื่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พันธุกรรมพืชป่าและสัตว์ป่าที่เกี่ยวข้องกับสมดุลของระบบนิเวศป่าไม้ 1. สนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น/ชุมชน เข้าร่วมโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชตามแนว พระราชดำริของสมเด็จพระเทพฯ
2.1.4.4 ส่งเสริม และสนับสนุนธนาคารเชื้อพันธุ์พืช สัตว์ และจุลินทรีย์ 1. จัดตั้ง/พัฒนาธนาคารเชื้อพันธุ์พืช สัตว์ และจุลินทรีย์ - โครงการจัดสร้างสวนรวมพันธุ์ไม้ป่า - โครงการปรับปรุงพันธุกรรมไม้ป่า - โครงการจัดสร้างธนาคารจุลินทรีย์ทางสัตวแพทย์ 1. กิจกรรมเพาะพันธุ์และการปล่อยสัตว์ป่าคืนสู่ธรรมชาติ ดำเนินการปล่อยสัตว์ป่าจำนวน 36 ชนิด 3,821 ตัว ในพื้นที่ 17 แห่ง แบ่งเป็นอุทยานแห่งชาติ (อช.) 3 แห่ง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า (ขสป.) 11 แห่ง เขตห้ามล่าสัตว์ป่า 2 แห่ง และสถานที่อื่นๆ 1 แห่ง
2. กิจกรรมปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ จำนวน ๓๐,๔๐๐ ตัว ในท้องที่ ๔ จังหวัดภาคตะวันออก
2. โครงการธนาคารเชื้อพันธุ์สัตว์น้ำและพรรณไม้น้ำ เพื่อเก็บรวบรวมเชื้อพันธุ์สัตว์น้ำและพรรณไม้น้ำสายพันธุ์จากธรรมชาติและจากการเพาะเลี้ยงและปรับปรุงพันธุ์ เก็บรักษาระยะยาวโดยวิธีแช่แข็ง การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การปลูกเลี้ยงในโรงเรือนและระบบไฮโดรโพรนิกส์ 1. กิจกรรมธนาคารเชื้อพันธุ์สัตว์น้ำ เก็บเชื้อพันธุ์สัตว์น้ำในรูปแบบของการเก็บรักษาน้ำเชื้อโดยวิธี แช่แข็ง ณ ธนาคารเชื้อพันธุ์สัตว์น้ำ ได้ 2 ชนิด/สายพันธุ์ต่อปี และนำมาใช้ประโยชน์ในการเพาะ ขยายพันธุ์สัตว์น้ำ
3. เครือข่ายคลังเก็บรักษาจุลินทรีย์แห่งประเทศไทย (TNCC) และเชื่อมโยงเครือข่ายระดับอาเซียน 1. โครงการแม่บทจัดทำระบบบัญชีรายการทรัพยากรพันธุกรรมที่ทรงคุณค่า สำหรับการพัฒนาและ แข่งขันด้านพัฒนาเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียน ปี 2559
4. โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมกล้วยไม้ : ธนาคารเมล็ดพันธุ์และราไมคอร์ไรซากล้วยไม้
5. โครงการปรับปรุงพัฒนาห้องเก็บรักษาพันธุกรรมพืชในสภาพปลอดเชื้อ ณ สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าฯ 1. ปลูกหญ้าแฝกเฉลิมพระเกียรติ
6. โครงการสำรวจความหลากหลายของพืชในภาคเหนือ - ความหลากหลายของพืชมีท่อลำเลียงบริเวณเขาหินปูนในอุทยานแห่งชาติศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย - ความหลากหลายของพืชมีท่อลำเลียงบริเวณเขาหินปูนในอุทยานแห่งชาติดอยหลวง จังหวัดเชียงราย - ความหลากหลายของพืชมีท่อลำเลียงบริเวณเขาหินปูนในอุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท จังหวัดลำปาง 1. โครงการเสริมสร้างศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการป้องกันและใช้ประโยชน์ความ หลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืนในภูมินิเวศของประเทศไทย (SLBT) โดยการกำหนดกระบวนการ และจัดลำดับความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพ โดยสอดแทรกเข้าสู่ภารกิจขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นในการบริหารงาน วางแผนพัฒนาและระบบงบประมาณเพื่อสร้างความยั่งยืน ของการจัดการทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพในระดับท้องถิ่น
2. ปลูกรักษาพรรณไม้เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้
7. โครงการสำรวจรวบรวมความหลากหลายทางชีวภาพของพืชพื้นเมือง พืชป่า ที่เป็นเครือญาติกับพืชปลูก
แนวทางปฏิบัติ แผนงาน/โครงการ ผลการดำเนินงาน
2.1.5.1 จัดทำแนวทางและมาตรการที่สอดคล้องกับเป้าหมายและแนวทางอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพของพืชและสัตว์ 1. จัดทำยุทธศาสตร์สำหรับการอนุรักษ์พืชที่ตอบสนองต่อเป้าหมายกลยุทธ์ทั่วโลกว่าด้วยการอนุรักษ์พืช รวมถึงจัดทำแนวทางและกำหนดเป้าหมายการอนุรักษ์พืชในประเทศไทย
2.1.5.2 สร้างเครือข่ายและเสริมสร้างสมรรถนะเครือข่ายในการดำเนินงานตามเป้าหมายและแนวทางการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพของพืชและสัตว์ 1. สร้างเครือข่ายการอนุรักษ์พืชรวมถึงเพิ่มสมรรถนะและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้เครือข่าย